DVB-T เป็นการส่งสัญญาณดิจิตอลภาคพื้นดิน ใช้เทคนิคผสมคลื่นวิทยุ COFDM (Coded Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เป็นการแบ่งคลื่นส่งวิทยุเป็นคลื่นสัญญาณวิทยุย่อยๆหลายความถี่ โดยในแต่ละคลื่นความถี่ย่อยสามารถผสมสัญญาณวิทยุในระบบ QPSK เนื่องจากระบบการส่งใช้
คลื่นความถี่มากและในการส่งสัญญาณมีการสะท้อนของคลื่นสัญญาณมาก จึงต้องออกแบบต่างจากการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมและในเคเบิล และในการรับสัญญาณอาจมีความผิดพลาด จึงมีการใช้ error correcting (Reed-Solomon) ส่งสัญญาณโทรทัศน์ย่าน VHF และ UHF ซึ่งความกว้างช่องสัญญาณ Bandwidth 7-8 MHz ในการส่งสัญญาณจะได้ข้อมูล 16.59 Mbit/s
DVB-T2 เป็นการพัฒนาเป็นเจนเนอเรชันที่สองต่อจาก DVB-T ซึ่งทำให้มีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงกว่า DVB-T สัญญาณมีความคงทนมากกว่า
ปัจจุบันประเทศกว่า 59 ประเทศทั่วโลก รับเอามาตรฐาน DVB-T และ DVB-T2 ไปใช้งาน โดยทั้งนี้ มาตรฐาน DVB-T สามารถนำไปประยุกต์ให้สามารถทำการส่งผ่านสายสัญญาณเคเบิลได้อีกด้วย ซึ่งจะกล่าวต่อไปภายหลัง